หนวยที่ 2 การทดสอบแรงกระแทกแบบชาร์ปี้


 

3. ส่วนปะกอบต่าง ๆ ของเครื่องทดสอบแรงกระแทกแบบชาร์ปี้

      ตุ้มเหวี่ยง            มีหน้าที่ ตีชิ้นทดสอบให้แตกหัก

      สเกลวัดพลังงาน    มีหน้าที่ แสดงค่าพลังหลังตีกระแทกชิ้นทดสอบ

      ด้ามล็อคตุ้มเหวี่ยง  มีหน้าที่ ดึงตัวสลักให้ล็อคตุ้มเหวี่ยงค้างไว้

      เบรก                 มีหน้าที่ หยุดตุ้มเหวี่ยงหลังจากที่ตีชิ้นงานแล้วให้อยู่นิ่ง

       3.1 ข้อมูลของเครื่องทดสอบแรงกระแทกแบบชาร์ปี้ที่มีการสร้างตามมาตรฐาน DIN 51222

              - พลังงานในการทดสอบสูงสุด                196                  J

              - ความเร็วในการตีกระแทก                       5              m/s

              - มวลของตุ้มเหวี่ยงและแขน                   15.34            kg

              - ระยะจากจุดหนึ่งถึงจุดกระแทก                 0.7              m

              - มุมยกสูงสุดของตุ้มเหวี่ยงจากแนวดิ่ง      150              องศา

              - น้าหนักรวมของเครื่องทดสอบ              280                kg

              - ขนาดของชิ้นทดสอบ            10 มม. X 10 มม. X 55   มม.

              - เกจวัดพลังงาน                       Horizontal linear scale

              - หน่วยการวัดพลังงาน                                         จูล (J)

       3.2 ข้อมูลในการคำนวณในการออกแบบ

       1.พลังงานในการทดสอบสูงสุด

       เมื่อ        m = มวล กิโลกรัม (kg)

                    g = 9.81 m/

                    α = มุมยกขึ้นก่อนการกระแทกเป็นองศา

                    β = มุมยกขึ้นหลังการกระแทกเป็นองศา

                    r = รัศมีความยาวจากศุนย์กลางหมุนถึงตำแหน่งตี

       2. อัตราส่วนระหว่างมวลของเครื่องต่อมวลของตุ้มเหวี่ยง ( มาตราฐาน DIN 51222 กำหนด ไม่ต่ำกว่า 12 (เท่า )

              มวลของเครื่อง     = 280 kg

              มวลของตุ้มเหวี่ยง = 15.34 kg

              อัตราส่วนระหว่างมวลของเครื่องต่อมวลของตุ้มเหวี่ยง เท่ากับ = 18.25

              ดังนั้นจาการคำนวณได้ 18.25 มากว่า 12 จึงใช้ได้ตามมาตรฐาน

       3. ความเร็วของตุ้มเหวี่ยงขณะกระแทกชิ้นงาน ( มาตรฐาน DIN 51222 กำหนด V อยู่ระหว่าง 5 - 5.5 m/s )

                   V =

       เมื่อ       V = ความเร็วตุ้มเหวี่ยงขณะกระแทกชิ้นงาน m/s

                   g = 9.81 m/

                   h = ความสูงของจุด CG ของตุ้มวัดจากระแทก เท่ากับ 1 ( 1 - cos 150 ) = 1.3062 m

       ดังนั้น    V =

                      =

                      = 5.0624 m/s

       ดังนั้นจาการคำนวณได้ 5.0624 m/s อยู่ในช่วง 5 - 5.5 m/s ตามที่มาตรฐานกำหนดชิ้นทดสอบลักษณะต่างๆ ที่ใช้กับเครื่องทดสอบแรกระแทกแบบชาร์ปี้

รูปภาพชิ้นทดสอบ ชื่อของชิ้นทดสอบ
1.V-notch 60º
2.V-notch 90º
3.U-notch
4.Key hole